backup og meta

เกรปฟรุต (Grapefruit)

การใช้

เกรปฟรุต ใช้ทำอะไร?

เกรปฟรุตเป็นผลไม้ที่จัดอยู่ในสกุลส้ม (Citrus) คนนำเนื้อผลไม้, น้ำมันจากเปลือก และสารสกัดจากเมล็ดมาทำเป็นยา

น้ำเกรปฟรุตถูกนำมารับประทานเพื่อรักษาโรคไขมันในเลือดสูง, โรคหลอดเลือดแดงแข็ง, โรคมะเร็ง, โรคสะเก็ดเงิน, สำหรับการลดน้ำหนักและโรคอ้วน

สารสกัดจากเมล็ด ใช้รับประทานสำหรับการติดเชื้อแบคทีเรีย, ไวรัส และเชื้อรา รวมไปถึงการติดเชื้อยีสต์

น้ำมันเกรปฟรุต ถูกนำมาใช้กับผิวหนัง สำหรับกล้ามเนื้ออ่อนแรง, ปลูกผม, ปรับสภาพผิว, หน้าเป็นสิว, หน้ามัน และนำมารับประทานเพื่อรักษาไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่

สารสกัดจากเมล็ด นำไปใช้กับผิวหนังในการทำความสะอาดผิวหน้า, การรักษาเบื้องต้น, บรรเทาอาการระคายระเคืองของผิวที่บอบบาง และการสวนล้างช่องคลอดจากการติดเชื้อยีสต์ในช่องคลอด (candidiasis) นอกจากนี้ยังใช้สำหรับล้างหูหรือจมูกเพื่อป้องกันและรักษาโรค; อาการเจ็บคอและฟันผุ ป้องกันโรคเหงือกอักเสบและส่งเสริมสุขภาพเหงือกและช่วยดับกลิ่นปาก

บางคนใช้น้ำมันหอมระเหยเกรปฟรุตเพื่อสูดดมและช่วยเก็บน้ำในร่างกาย, เพื่อลดอาการปวดศีรษะ, ความเครียดและภาวะซึมเศร้า นอกจากนี้สารสกัดจากเมล็ดเกรปฟรุตก็ยังถูกนำมาสูดดมเพื่อรักษาโรคปอด

ในทางอาหารและเครื่องดื่ม เกรปฟรุตจะถูกบริโภคเป็นผลไม้และน้ำผลไม้

ในการผลิต น้ำมันเกรปฟรุตและสารสกัดจากเมล็ด ใช้เป็นส่วนประกอบในการทำสบู่และเครื่องสำอาง และเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนสำหรับทำความสะอาดผลไม้, ผัก, เนื้อ, พื้นที่ในครัว, จาน ฯลฯ

ในการเกษตร สารสกัดจากเมล็ดเกรปฟรุตจะใช้ในการกำจัดแบคทีเรียและเชื้อรา, ต่อสู้กับการเจริญเติบโตของเชื้อรา, ฆ่าปรสิตในอาหารสัตว์, รักษาอาหารและฆ่าเชื้อโรคน้ำ

การทำงานของเกรปฟรุต

ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของเกรปฟรุตไม่มากพอ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามมีการศึกษาบางอย่างที่แสดงให้เห็นว่าเกรปฟรุตเป็นแหล่งของวิตามินซี, ไฟเบอร์, โพแทสเซียม, เพคตินและอื่นๆ ส่วนประกอบบางอย่างอาจมีผลในการต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องความเสียหายของเซลล์ หรือลดไขมันในเลือด

อย่างไรก็ตามน้ำมันยังไม่เป็นที่แน่ชัดเจนว่าน้ำมันเกรปฟรุตสามารถใช้เป็นยาได้อย่างไร

ข้อควรระวังและคำเตือน

ควรรู้อะไรก่อนที่จะใช้เกรปฟรุต?

ควรปรึกษาแพทย์, เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ถ้ามีอาการหรือลักษณะดังต่อไปนี้:

–   กำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในระหว่างการมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรจึงควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น

  • อยู่ในระหว่างการใช้ยาชนิดอื่น รวมไปถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา
  • มีอาการแพ้สารใดๆที่มีสารประกอบของเกรปฟรุตผสมยู่ หรือยาและสมุนไพรอื่นๆ
  • มีอาการเจ็บป่วย ความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่นๆ
  • มีอาการแพ้ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อบังคับสำหรับเกรปฟรุตนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ประโยชน์ของการใช้เกรปฟรุตจะต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

เกรปฟรุตปลอดภัยแค่ไหน?

เกรปฟรุตมีความปลอดภัยหากรับประทานในปริมาณปกติเมื่อใช้เป็นอาหารหรือยารักษาโรค

เกรปฟรุตอาจไม่ปลอดภัยเมื่อรับประทานในปริมาณมาก หากท่านใช้ยาใดๆอยู่ ให้ตรวจสอบกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพก่อนที่จะใช้เกรปฟรุตเป็นอาหารหรือยา เพราะเกรปฟรุตอาจมีปฏิกิริยากับรายการยาของท่าน

ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ

หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร: ยังมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือไม่เพียงพอทางด้านความปลอดภัยในการใช้เกรปฟรุตระหว่างมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร จึงควรอยู่ในความควบคุมที่ปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการใช้

มะเร็งเต้านม: มีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการดื่มน้ำเกรปฟรุตที่มากเกินไป งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าสตรีวัยหมดประจำเดือนที่ดื่มน้ำเกรปฟรุตทุกวันมีโอกาสพัฒนาการเกิดมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นถึง 25% ถึง 30% น้ำเกรปฟรุตจะลดฮอร์โมนสโตรเจนลงและอาจเพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย จึงจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลการวิจัยเหล่านี้ จนกว่าจะเป็นที่ทราบกันดีแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเกรปฟรุตในปริมาณที่มากเกินไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณเป็นมะเร็งเต้านมหรือมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งที่พึ่งพาฮอร์โมน: โรคมะเร็งบางชนิดอาศัยฮอร์โมนเพื่อที่จะเติบโต  เช่น มะเร็งเต้านม การบริโภคเกรปฟรุตปริมาณในปริมาณมากอาจเพิ่มระดับฮอร์โมนและเพิ่มความเสี่ยง ผู้หญิงที่มีภาวะนี้ควรหลีกเลี่ยงเกรปฟรุต

 

ผลข้างเคียง

 อาการข้างเคียงจากเกรปฟรุตมีอะไรบ้าง?

หากคุณมีข้อกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงใดๆ โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ของคุณ

ปฏิกิริยาต่อยา

ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ยาอื่นร่วมกับเกรปฟรุต

เกรปฟรุตอาจมีปฏิกิริยากับยาที่ใช้ควบคู่กันในปัจจุบัน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรแพทย์ก่อนใช้ยา

ปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เกรปฟรุตร่วมกับยาอื่นๆ ได้แก่ ยาอาร์เทมิเทอร์ Artemether (Artenam, Paluther); ยาบิวสไปโรน Buspirone (BuSpar); ยาคาร์บามาซีปีน Carbamazepine (Tegretol); ยาคาร์วีดิลอล Carvedilol (Coreg); ยาซิซาไพรด์ Cisapride (Propulsid);  ยาโคลมิพรามีน Clomipramine (Anafranil); ยาไซโคลสปอร์น Cyclosporine (Neoral, Sandimmune); ยาเดกซ์โทรเมทอร์แฟน Dextromethorphan (Robitussin DM และอื่น ๆ ); ฮอร์โมนทดแทนเอสโตรเจน Estrogens conjugated equine estrogens (Premarin), ยาเอทินิล เอสตร้าไดออล ethinyl estradiol, ยาเอสตร้าไดออล estradiol (Climara, Vivelle, Estring), และอื่นๆ ; ยาอีทอปโปซายด์ Etoposide (VePesid); ยาไอทราโคนาโซล Itraconazole (Sporanox); ยาที่ปลี่ยนแปลงและถูกทำลายโดยตับ (Cytochrome P450 3A4 (CYP3A4) substrates) ได้แก่ ยาโลวาสแตติน  lovastatin (Mevacor), ยาคีโตโคนาโซล ketoconazole (Nizoral), ยาไอทราโคนาโซล  itraconazole (Sporanox), ยาเฟกโซเฟนาดีน fexofenadine (Allegra), ยาไตรอาโซแลม  triazolam (Halcion),และอื่นๆ อีกมากมาย; ยาที่ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง (Calcium channel blockers) ได้แก่ ยาไนเฟดิปีน nifedipine (Adalat, Procardia), ยาเวราพามิล verapamil (Calan, Isoptin, Verelan), ยาดิลไทอะเซม diltiazem (Cardizem), ยาอิสราดิปีน isradipine (DynaCirc), ยาฟิโลดิปีน felodipine (Plendil), ยาแอมโลดิปีน amlodipine (Norvasc) และอื่น ๆ; ยาที่ใช้ลดระดับคอเรสเตอรอลในร่างกาย (Statins) ได้แก่ ยาโลวาสแตติน lovastatin (Mevacor), ยาซิมวาสแตติน simvastatin (Zocor), ยาอะทอร์วาสแตติน atorvastatin (Lipitor), ยาเซอริวาแสตติน cerivastatin (Baycol), และอื่นๆ ยกเว้นยาปราวาสแตติน pravastatin (Pravachol); ยาเมทิลเพรดนิโซโลน Methylprednisolone; ยาพราซิควอนเทล Praziquantel (Biltricide); ยาควินิดีน Quinidine; ยาสโคโปลามีน Scopolamine (Transderm Scop); กลุ่มยากล่อมประสาท Sedative medications (Benzodiazepines) ได้แก่ ยาโคลนาซีแพม clonazepam (Klonopin), ยาไดอะซีแพม diazepam (Valium), ยาลอราซีแพม lorazepam (Ativan), และอื่นๆ ; ยาซิลเดนาฟิล Sildenafil (Viagra); ยาเทอร์เฟนาดีน Terfenadine (Seldane); ยาแคฟเฟอีน Caffeine; ยาอิริโทรมัยซิน Erythromycin; ยาเฟกโซเฟนาดีน Fexofenadine (Allegra); ยาลอซาร์แทน Losartan (Cozaar); ยาลอซาร์แทน The liver activates losartan (Cozaar);

ยาที่ปลี่ยนแปลงและถูกทำลายโดยตับ (Cytochrome P450 1A2 (CYP1A2) substrates) ได้แก่  ยาอะมิทริปไทลีน amitriptyline (Elavil), ยาฮาโลเพอริดอล haloperidol (Haldol), ยาออนดาเซทรอน ondansetron (Zofran), ยาโพรพราโนลอล propranolol (Inderal), ยาทีโอฟิลลีน theophylline (Theo-Dur, others), ยาเวอราปามิล verapamil (Calan, Isoptin, others), และอื่นๆ;

ยาที่ปลี่ยนแปลงและถูกทำลายโดยตับ (Cytochrome P450 2C19 (CYP2C19) substrates) ได้แก่ ยาโอเมพราโซล omeprazole (Prilosec), ยาแลนโซพราโซล lansoprazole (Prevacid), และยาแพนโทพราโซล pantoprazole (Protonix);  ยาไดอะซีแพม diazepam (Valium); ยาคาริโซโพรดอล carisoprodol (Soma); ยาเนวฟินนาเวียร์ nelfinavir (Viracept); และอื่นๆ; ยาที่ปลี่ยนแปลงและถูกทำลายโดยตับ (Cytochrome P450 2C9 (CYP2C9) substrates) ได้แก่ ยาไดโคลฟีแนค diclofenac (Cataflam, Voltaren), ยาไอบูโปรเฟน ibuprofen (Motrin), ยามีลอกซิแคม meloxicam (Mobic), และ ยาไพโรซิแคม piroxicam (Feldene); ยาเซเลโคซิบ celecoxib (Celebrex); ยาอะมิทริปไทลีน amitriptyline (Elavil); ยาวาฟาร์ริน warfarin (Coumadin); ยาไกลพิไซด์ glipizide (Glucotrol); ยาลอซาร์แทนlosartan (Cozaar); และอื่นๆ; ยาซาควินาเวียร์ Saquinavir (Fortovase, Invirase); ยาทีโอฟิลลีน Theophylline; ยาวาร์ฟาริน Warfarin (Coumadin).

 

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้เสมอ

ขนาดและปริมาณของการใช้เกรปฟรุต อยู่ที่เท่าไร?

ขนาดและปริมาณการใช้เกรปฟรุตอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ปริมาณการใช้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ  ผลิตภัณฑ์เสริมอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อทราบปริมาณยาที่เหมาะสม

เกรปฟรุตมีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง?

เกรปฟรุตอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

  • เกรปฟรุตชนิดเม็ด 500 มิลลิกรัม; 100 มิลลิกรัม
  • สารสกัดจากเมล็ดเกรปฟรุตชนิดแคปซูล

 

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ วินิจฉัยหรือการรักษาแต่อย่างใด

 

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Grapefruit. http://www.m.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-946/grapefruit.Accessed March, 30, 2017.

Grapefruit. http://www.medicalnewstoday.com/articles/280882.php. Accessed March, 30, 2017.

Grapefruit. http://www.whfoods.com/genpage.php?tname=foodspice&dbid=25. Accessed March, 30, 2017.

เวอร์ชันปัจจุบัน

06/12/2017

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


บทความที่เกี่ยวข้อง

มะก่องข้าว สมุนไพรพื้นบ้านมากคุณประโยชน์

หน่อไม้ (Bamboo shoots)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 06/12/2017

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา